Mon. May 20th, 2024
0 0
Read Time:6 Minute, 35 Second

นวราตรี” (Navaratri) เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูที่เหล่าผู้ศรัทธาทั่วโลกจะจัดขึ้นปีละครั้ง เพื่อเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติ พระแม่อุมาเทวี” มหาเทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุดเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งจะตรงกับเดือนกันยายน-ตุลาคมของไทยในทุก ๆ ปี

สำหรับที่มาในการเฉลิมฉลองมีแตกต่างกันไปตามภูมิภาคของวัฒนธรรมฮินดูในอนุทวีปอินเดีย แต่ที่นิยมเชื่อกันมาจากวัฒนธรรมในแถบตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย

“วันไจตระนวราตรี” บูชาพระแม่อุมาเทวีทั้ง 9 ปาง

เทศกาลกินเจ 2566 เริ่มวันไหน มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามอย่างไร?

รวมที่เที่ยว “เทศกาลกินเจ 2566” อิ่มบุญอิ่มท้องทั่วไทย

ที่เชื่อว่าในวันสำคัญนี้เป็นวันคล้ายวันพระแม่ทุรคาเทวีหรือพระแม่กาลี (ปางหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี) ทรงต่อสู้กับอสูรควาย (อหิงสาสูร) ที่มีอำนาจมากและไม่มีเทพองค์ใดทำลายลงได้ เป็นเวลา9 วัน 9 คืน (นวราตรี) จนได้รับชัยชนะในวันที่ 10 (วิชัยทัสมิ)จึงจัดให้มีการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระแม่เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความดีเหนือความชั่วร้ายนั่นเอง

นวราตรี 2566 ตรงกับวันไหน

งานนวราตรีปีนี้ ตามปฏิทินของไทยจะตรงกับวันที่ 15-24 ตุลาคม 2566คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง

ความหมายของนวราตรี

ในภาษาสันสกฤต “นว (nava)” หมายถึง “เก้า” และ “ราตรี (ratri)” หมายถึง “กลางคืน” จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “เก้าคืน” ตรงตามตำนานความเชื่อของวันเฉลิมฉลองชัยชนะของพระทุรคา

ธรรมเนียมปฏิบัติในเทศกาลนวราตรี

ในช่วงเก้าคืนนี้จะมีการบูชาพระแม่อุมาเทวี (Aumadavi) พระแม่ลักษมี (Lakshmi) และ พระแม่สรัสวตี (Saraswati) หรือ “ศักติ” ซึ่งหมายถึง พลังหรืออำนาจในเก้ารูปแบบ

พิธีนี้เป็นพิธีเก่าแก่ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระเวท จัดขึ้นเป็นเวลา 2 ครั้งต่อปีในช่วงต้นฤดูร้อน และต้นฤดูหนาว แต่ในช่วงต้นฤดูหนาวได้รับความนิยมมากกว่าและจะจัดพร้อมกันทั่วโลก

ในการบูชา “ศักติ” นี้ จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ในช่วงสามวันแรกจะเป็นพิธีปลุกพระแม่ทุรคาเทวีแห่งพลังอำนาจขึ้นมา เพื่อมากำจัดสิ่งเลวร้ายไม่บริสุทธิ์ต่าง ๆ

จากนั้นเทวีที่ได้รับการบูชาต่อมาคือ พระแม่ลักษมี มหาเทวีที่จะมอบความมั่งคั่งให้กับผู้ที่บูชา

และในช่วงสามวันสุดท้ายเป็นการบูชา พระแม่สรัสวตี มหาเทวีแห่งสติปัญญา ชาวฮินดูเชื่อว่า เพื่อที่จะได้รับพรครบในทุกด้าน จำเป็นที่จะต้องบูชาพระแม่ทั้งสามพระองค์ต่อเนื่องกัน 9 วัน

กำหนดการงานพิธีนวราตรี วัดแขกสีลม

สำหรับขบวนแห่ ซึ่งเป็นประเพณีไฮไลต์ของงานนวราตรี เพื่อแห่เฉลิมฉลองชัยชนะขององค์พระแม่อุมาเทวี

ในอินเดียจะมีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ทั่วทั้งทั้งประเทศ แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค นอกจากการบูชาเทวีแล้วชาวฮินดูยังฉลองด้วยการเต้นดันดิยาราส (Dandiya-raas) หรือรำกระทบไม้ โดยถือไม้สั้นๆ คนละคู่ ตีกระทบกันเป็นวงวนไปวนมา แม้ดูแล้วไม่มีท่าเต้นอะไร แต่เขาก็สนุกสนานกันมาก ซึ่งการเต้นนี้ก็อาจแตกต่างกันไปตามความนิยมในแต่ละที่

สำหรับประเทศไทย วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ถือเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในการจัดงานนวราตรีมาก ในแต่ละปีจะมีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ และมีผู้มาเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก ถึงกับต้องมีการปิดถนนกันเลยทีเดียว โดยในปีนี้มีกำหนดการจัดงาน ดังนี้

วันเสาร์ 14 ตุลาคม 2566

พิธีบูชาองค์พระพิฆเนศวร (บรมครู) พิธีบูชาเทพประจำแผ่นดิน, เทพแห่งดาวนพเคราะห์ทั้งเก้า พิธีบูชาเพื่อขออนุญาตต่อองค์มหาเทวี และมหาเทพทั้งหลายที่ประดิษฐานภายในวัด เพื่อเริ่มงานพิธีนวราตรี ประจำปี

โดยเริ่มพิธีเช้า เวลา 09.00 น. และ พิธีเย็น เวลา 16.00 น. หลังเสร็จพิธีบูชาในช่วงค่ำ จะมีการอัญเชิญเทวรูปองค์พระพิฆเนศวร เทวรูปองค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวี และเทวรูปองค์พระแม่ซูลัมกาลี ออกแห่ในเส้นทางถนนปั้น

วันอาทิตย์ 15 ตุลาคม 2566 : เริ่มงานพิธีนวราตรีประจำปี

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น. บูชาองค์พระแม่มหาทุรคา
  • พิธีเย็น เวลา 16.00 น. บูชาองค์พระแม่มหาทุรคา
  • หลังพิธีเย็น เวลาประมาณ 18.30 น. อัญเชิญธงสิงห์ขึ้นเสา

วันจันทร์ 16 ตุลาคม 2566 : พิธีบูชาองค์พระแม่มหาทุรคา

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น.
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น.
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น.

วันอังคาร 17 ตุลาคม 2566 : พิธีบูชาองค์พระแม่มหาทุรคา

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น.
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น.
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น.

วันพุธ 18 ตุลาคม 2566 : พิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมี

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น.
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น.
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น.

วันพฤหัสบดี 19 ตุลาคม 2566 : พิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมี

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น.
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น.
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น.

วันศุกร์ 20 ตุลาคม 2566: พิธีบูชาองค์พระแม่มหาลักษมี

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น.
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น.
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น.

วันเสาร์ 21 ตุลาคม 2566 : พิธีอภิเษกสมรสขององค์พระแม่ศรีมหาอุมาเทวีและองค์พระศิวะมหาเทพ

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น. (พิธีอภิเษกสมรส)
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น. (พิธีบูชาพระแม่นั่งชิงช้า)
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น. (พิธีบูชาพระแม่นั่งชิงช้า)

วันอาทิตย์ 22 ตุลาคม 2566 : พิธีบูชาพระแม่ปางบูชาองค์พระศิวลึงค์

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น.
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น.
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น.

วันจันทร์ 23 ตุลาคม 2566 : พิธีบูชาองค์พระแม่มหาสรัสวดี

  • พิธีเช้า เวลา 09.00 น.
  • พิธีบูชาโฮมัม เวลา 17.00 น.
  • พิธีบูชาใหญ่ เวลา 19.30 น.

วันอังคาร 24 ตุลาคม 2566 : งานแห่ประเพณี เนื่องในวันวิชัยทัสมิ ประจำปี

โดยขบวนแห่เริ่มเคลื่อนออกจากวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ในเวลาประมาณ19.30 น. เป็นต้นไป

วันพฤหัสบดี 26 ตุลาคม 2566 : พิธีอัญเชิญธงสิงห์ลง และพิธีอาบน้ำคณะพราหมณ์และคณะคนทรง

โดยพิธีเริ่มเวลา 17.00 น. ซึ่งหลังจากเสร็จพิธี คณะพราหมณ์จะผูกข้อมือด้วยสายสิญจน์ที่ทำพิธีมาแล้วให้แก่สานุศิษย์ทุกคนฟรี

สำหรับผู้ศรัทธาที่อยากร่วมพิธีกรรมนี้ สามารถเดินทางไปร่วมงานได้ที่ วัดแขก สีลม หรือติดตามได้ที่เฟซบุ๊ก Hindu Meeting

รู้จัก "วัดแขก สีลม"

สำหรับ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ "วัดแขก สีลม" เป็นวัดในศาสนาฮินดู นิกายศักติ สร้างขึ้นประมาณปี 2422 โดยชาวอินเดียจากรัฐทมิฬนาฑู (ตอนใต้ของอินเดีย) ภายในพระอุโบสถประดิษฐานเทวรูปสำคัญ 3 องค์ที่อันเชิญจากอินเดีย ได้แก่ พระมหาอุมาเทวี, พระขันธกุมาร และพระพิฆเนศวร ซึ่งมีการจัดพิธีกรรมบูชาตามหลักศาสนาตลอดทั้งปี

ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก Hindu Meeting

ขอบคุณภาพจาก : freepik

บทสวดมนต์กินเจ 2566 บูชาขอพรองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม

"กินเจ" มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงกลายเป็นเทศกาลสำคัญในไทย

"กลุ่มฮามาส" หาอาวุธในการถล่มอิสราเอลมาจากไหน?

สภาพอากาศวันนี้ ไทยเจอทั้งฝนทั้งหนาว! เตือน กทม.- 44 จว. ฝนตกหนัก

"จุลพันธ์" เผย เงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องลงทะเบียนและยืนยันตัวตนด้วย

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin